เมนู

พยัญชนะทั้งหลาย แม้ในคาถาว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา
มโนมยา
ก็นัยนี้เหมือนกัน.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 6

อรรถกถาสูตรที่ 7



ในสูตรที่ 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
กุศลธรรมแม้เป็นไปในภูมิ 4 ท่านกล่าวว่า กุศล. คำที่เหลือ
พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในสูตรที่ 6 นั้นแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 7

อรรถกถาสูตรที่ 8



ในสูตรที่ 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ภิกฺขเว ในคำว่า ยถยิทํ ภิกฺขเว ปมาโท นี้ เป็นอาลปนะ
ความว่า ยถา อยํ ปมาโท เหมือนความประมาทนี้. บทว่า ปมาโท
ได้แก่ อาการคือ ความประมาท. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ในธรรมเหล่านั้น ความประมาทเป็นไฉน ? ความปล่อยจิต การ
สนับสนุนความปล่อยจิตในกามคุณ 5 ด้วยกายทุจจริต ด้วยวจี
ทุจจริต หรือด้วยมโนทุจจริต หรือการการทำโดยไม่เคารพ ความ
กระทำไม่ติดต่อ ความทำอันหาประโยชน์มิได้ ความประพฤติ
ย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความ

ไม่อบรม ความไม่ทำให้มาก ซึ่งการอบรมกุศลธรรมทั้งหลาย.
ความประมาท กิริยาที่ประมาท ภาวะที่ประมาทเห็นปานนี้ใด
นี้เรียกว่าความประมาท.
บทว่า อุปฺปนฺนา จ กุสลา ธมฺมา ปริหายนฺติ (กุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไปด้วย) นี้ ท่านกล่าวเนื่องด้วยฌานและ
วิปัสสนา. แต่มรรคผลที่เกิดขึ้นแล้วครั้งเดียว ไม่เสื่อมอีกต่อไป.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 8

อรรถกถาสูตรที่ 9



ในสูตรที่ 9 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ความไม่ประมาท พึงทราบโดยพิสดาร โดยตรงกันข้ามกับ
ความประมาท.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 9

อรรถกถาสูตรที่ 10



ในสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ความเป็นผู้เกียจคร้าน ชื่อว่า โกสัชชะ. คำที่เหลือมีนัย
ดังกล่าวแล้วแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 10

จบ อรรถกถาอัจฉราสังฆาตวรรคที่ 6